ไกรสร ตันติพงศ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้รับการเลือกตั้งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่ คือ 7 สมัย
ไกรสร ตันติพงศ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2473 ที่ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่ 4 ในบรรดาบุตรทั้ง 6 คนของนายหิรัญ และนางทองสุก ตันติพงศ์ (สกุลเดิม ชุติมา) มีพี่น้องตามลำดับดังนี้ นายประภาส นางสาวสุชาดา นายถนอม นายไกรสร นายกมล และนายปรีดี เขาเริ่มการศึกษาระดับอนุบาล ที่โรงเรียนวัดเกตการาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนดาราวิทยาลัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-4 ที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย และศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โดยเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-4 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หมายเลขประจำตัว 2745 ต่อมาย้ายกลับมาเรียนต่อที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย โดยเรียนชั้นมัธยมปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หมายเลขประจำตัว 2584
นายไกรสร ถึงแม้จะมีศักดิ์เป็นหลานน้าของนายสุวิชช พันธเศรษฐ ส.ส. 3 สมัย และนายทองดี อิสราชีวิน ส.ส.4 สมัย แต่ก็ไม่เคยไปอยู่บ้านของท่านทั้งสองเลย แต่ทั้งสอง ส.ส. เป็นน้องคุณแม่ทองสุก ท่านมาพักนอนที่บ้านต้นตระกูลของคุณแม่ทองสุก นามสกุลเดิม ชุติมา นายไกรสร ถึงแม้จะมีศักดิ์เป็นหลานน้าของนายสุวิชช พันธเศรษฐ ส.ส. 3 สมัย และนายทองดี อิสราชีวิน ส.ส.4 สมัย แต่ก็ไม่เคยไปอยู่บ้านของท่านทั้งสองเลย แต่ทั้งสอง ส.ส. เป็นน้องคุณแม่ทองสุก ท่านมาพักนอนที่บ้านต้นตระกูลของคุณแม่ทองสุก นามสกุลเดิม ชุติมา และปัจจุบัน นายไกรสร มีภรรยา 3 คนคือ 1. นางทองอินทร์ ตันติพงศ์ 2. นางเครือวัลย์ ตันติพงศ์ 3. นางอรษา ตันติพงศ์ โดยมีบุตรกับนางทองอินทร์ เท่านั้น คือ นางกนิษฐา จันทรศัพท์, พลอากาศตรี ศุภมิตร ตันติพงศ์
ได้รับเลือกเป็น ส.ส.เชียงใหม่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 - พ.ศ. 2531 รวมถึง 7 สมัย เมื่อได้เป็น ส.ส. ในปี พ.ศ. 2500. ดังกล่าวก็ได้เลิกกิจการหนังสือพิมพ์แผ่นดินไทย โดยยกกิจการโรงพิมพ์ไกรนิมิตรการพิมพ์ และหนังสือพิมพ์แผ่นดินไทยให้นายนิมิตร มาลีกุล ดำเนินการร่วมกับนายประเวศน์ เชมนะศืริ นั่นคือ เมื่อเป็นนักการเมือง ก็ทำหน้าที่เป็นนักการเมืองอย่างแท้จริงเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (ครม.35, 37) จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อีกสมัยหนึ่ง แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ และในปี พ.ศ. 2523 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ในปี พ.ศ. 2528 ไกรสร ได้เสนอร่างกฎหมายพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานคร เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรเพื่อยกฐานะจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาวเชียงใหม่เลือกผู้บริหารของตัวเอง คือผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร แต่ร่างพระราชบัญญัติไปค้างอยู่ในสภา ฯ เท่านั้น รอการบรรจุเป็นวาระเพื่อพิจารณา แต่มีการยุบสภาเสียก่อน เรื่องนี้จึงยุติแต่เพียงเท่านี้
นายไกรสร ตันติพงศ์ รับปากคุณแม่ทองสุก ตันติพงศ์ มารดาที่กำลังป่วย โดยไม่ลงเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม 2531 เป็นต้นมา จึงเป็น ส.ส. ที่ไม่เคยสอบตก และได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์
ปัจจุบัน ได้วางมือทางการเมืองแล้ว สุขภาพร่างกายยังแข็งแรงดีอยู่ ยังพักอาศัยอยู่ทีบ้าน "ไทยร่มเย็น" จังหวัดเชียงใหม่ โดยเปิดร้านขนมจีนเฝ้าติดตามการเมืองอย่างเป็นห่วง และศึกษาสนใจในโหราศาสตร์ มักออกมาทำนายเหตุการณ์บ้านเมืองเสมอ ๆ ตามหลักโหราศาสตร์ จนได้ชื่อว่าเป็น "หมอดูการเมือง" อีกคนหนึ่ง
มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ • ผัน นาวาวิจิต • สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) • สงวน จูทะเตมีย์ • ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ • หม่อมสนิทวงศ์เสนี • สุกิจ นิมมานเหมินท์ • บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา • ประมาณ อดิเรกสาร • หลวงสวัสดิ์กลยุทธ (สวัสดิ์ ไกรฤกษ์) • กฤช ปุณณกันต์ • บุณย์ เจริญไทย • พงษ์ ปุณณกันต์ • กฤษณ์ สีวะรา • โอสถ โกศิน • อรุณ สรเทศน์ • นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ • สุรินทร์ เทพกาญจนา • ชาติชาย ชุณหะวัณ • เพิ่ม ลิมปสวัสดิ์ • เกษม จาติกวณิช • ประสิทธิ์ ณรงค์เดช • ประสงค์ คุณะดิลก • ชาติชาย ชุณหะวัณ • อบ วสุรัตน์ • จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา • ประมวล สภาวสุ • บรรหาร ศิลปอาชา • ประมวล สภาวสุ • สิปปนนท์ เกตุทัต • สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ • สนั่น ขจรประศาสน์ • ไตรรงค์ สุวรรณคีรี • ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ • โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ • กร ทัพพะรังสี • สมศักดิ์ เทพสุทิน • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ • พินิจ จารุสมบัติ • พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล • วัฒนา เมืองสุข • สุวิทย์ คุณกิตติ • มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ • ประชา พรหมนอก • ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง • ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ • วรรณรัตน์ ชาญนุกูล • หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ • ประเสริฐ บุญชัยสุข • จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช • อรรชกา สีบุญเรือง
(รัฐมนตรีช่วย) หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • ชม จารุรัตน์ • หลวงประสิทธิ์จักรการ (พ้วน โหตรภวานนท์) • หลวงอรรถพรพิศาล (อัมพร สูตะบุตร) • เสมอ กัณฑาธัญ • เลื่อน พงษ์โสภณ • ประมาณ อดิเรกสาร • ชื่น ระวิวรรณ • สงวน จันทรสาขา • สะอาด หงษ์ยนต์ • ประกายเพชร อินทุโสภณ • แสวง พิบูลย์สราวุธ • วัฒนา อัศวเหม • แผน สิริเวชชะพันธ์ • บรรหาร ศิลปอาชา • บุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ • วิมล วิริยะวิทย์ • อาชว์ เตาลานนท์ • โกศล ไกรฤกษ์ • ไกรสร ตันติพงศ์ • วิสิษฐ์ ตันสัจจา • จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา • เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ • บรม ตันเถียร • วงศ์ พลนิกร • ประโยชน์ เนื่องจำนงค์ • อนันต์ ฉายแสง • มีชัย วีระไวทยะ • ประมวล สภาวสุ • สมบูรณ์ จีระมะกร • กร ทัพพะรังสี • ดุสิต รังคสิริ • ไพฑูรย์ แก้วทอง • สมาน ภุมมะกาญจนะ • สมภพ อมาตยกุล • ประยูร สุรนิวงศ์ • วีระ สุสังกรกาญจน์ • เรืองวิทย์ ลิกค์ • อุดมศักดิ์ ทั่งทอง • พรเทพ เตชะไพบูลย์ • เกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ • ประเทือง คำประกอบ • สนธยา คุณปลื้ม • อนุสรณ์ วงศ์วรรณ • ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ • พลกฤษณ์ หงษ์ทอง • อนุรักษ์ จุรีมาศ • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ • วุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย • พิเชษฐ สถิรชวาล • ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ • ฐานิสร์ เทียนทอง